
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ปัจจุบัน เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และเกษตรศาสตร์
ชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ ณ วันที่ 27 มีนาคม ร.ศ.130 ว่า “...(ให้) แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น ‘กรมศิลปากร‘ มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน

ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้พื้นที่วังกลาง และวังตะวันออก หน้าพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนศิลปากร”
โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 [2]จัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะวิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทยซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ จากนั้นได้ขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยได้จัดซื้อที่ดินวังท่าพระซึ่งอยู่ติดกับที่ตั้งเดิมจากทายาทสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ต่อมาเมื่อผู้แทนขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ ดำเนินการจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา
ตราสัญลักษณ์
พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 สีประจำมหาวิทยาลัย
เขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุดเพลงประจำมหาวิทยาลัย
Santa Lucia เป็นเพลงพื้นเมืองของประเทศอิตาลี แต่งขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชมความงามของชายหาดที่มีชื่อเสียงของเมืองเนเปิลส์ นอกจากนี้ เพลง Santa Lucia ยังเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย สืบเนื่องจาก ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นชาวอิตาลี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) และชอบร้องเพลงนี้บ่อย ๆ เวลาทำงาน หลังจากนั้น คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้นำทำนองเพลงนี้ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย โดยใช้ชื่อเพลงว่า "ศิลปากรนิยม"
คณะวิชา
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต (ศป.บ) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 5 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตรกรรม,สาขาวิชาประติมากรรม,สาขาวิชาภาพพิมพ์,สาขาวิชาศิลปไทย และสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปีใน 7 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดี,สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,สาขาวิชามานุษยวิทยา,สาขาวิชาภาษาไทย,สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาบาลี-สันสกฤต-เขมร),สาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
คณะมัณฑนศิลป์
เปิดสอนในหลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน,สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์,สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา,สาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษาและสาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะอักษรศาสตร์ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) หลักสูตรการศึกษา ๔ ปี ใน 15 สาขาวิชาเอกคือ สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส, สาขาวิชาภาษาเยอรมัน, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น, สาขาวิชาภาษาจีน, สาขาวิชาภาษาเกาหลี, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, สาขาวิชาภูมิศาสตร์, สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา, สาขาวิชานาฏศาสตร์(การละคร), สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย, สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาเอเชียศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ เว็บ เปิดสอนใน 3 หลักสูตรคือ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต,สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาจิตวิทยา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาสังคมศึกษา, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, สาขาวิชาการประถมศึกษาและสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ (โครงการพิเศษ)
คณะวิทยาศาสตร์
เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 10 สาขาวิชาเอก คือ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาสถิติ สาขาจุลชีววิทยา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(เปิดเป็นที่แรกในประเทศไทย)สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์
คณะเภสัชศาสตร์เปิดสอนในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี และ 6 ปี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาเอกคือ สาชาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร,สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ โดยแบ่งเป็น 3 สายวิชาคือ เอกเว็บ เอกแอนิเมชั่น และ เอกเกมส์ โดยจะแยกเอกในชั้นปีที่ 3
หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต (นศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขานิเทศศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 5 สายวิชาคือ สายวิชาการโฆษณา,สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์,สายวิชาวิทยุและโทรทัศน์,สายวิชาภาพยนตร์และสายวิชาวารสารและสิ่งพิมพ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เว็บ เปิดสอนใน 3 หลักสูตรคือ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชา สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์, สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี, สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ และสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์
คณะดุริยางคศาสตร์ [1] เปิดสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ การแสดงดนตรี,ดนตรีแจ๊ส และดนตรีเชิงพาณิชย์
คณะวิทยาการจัดการ [2] เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตใน 7 สาขาวิชาคือ
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการตลาด,สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและที่พัก
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University International College or SUIC) [3] เปิดสอน ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร และ ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร
Bachelor of Business Administration in Hotel Management (BBA) หลักสูตร 4 ปี (การจัดการโรงแรม) ร่วมกับ Institut Vatel (France) , (Double Degree)
Bachelor of Fine Arts in Multimedia Design (BFA) หลักสูตร 4 ปี (ออกแบบสื่อผสม) ร่วมกับ Birmingham Institute of Art and Design (BIAD) , England , (Double Degree)
Master of Business Administration in Hotel and Tourism Management (MBA) หลักสูตร 2 ปี (การจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว) ร่วมกับ University de Perpignan (France) , (Double Degree)
Master of Business Administration in International Business (MBA) หลักสูตร 2 ปี (ธุรกิจระหว่างประเทศ) ร่วมกับ University of Technology Sydney (UTS) สำหรับ Study Tour
บัณฑิตวิทยาลัย เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกดังนี้
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ใน 5 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตรกรรม,ประติมากรรม,ภาพพิมพ์,ศิลปไทย และทฤษฎีศิลป์
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง,สถาปัตยกรรม ,สถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง และคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
หลักสูตรปริญญาการวางผังเมืองชุมชนและสิ่งแวดล้อมมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน สาขาการวางผังเมืองชุมชนและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในสาขาวิชาภูมิสถาปัตย์
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะโบราณคดีใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์,ภาษาเขมร,ภาษาสันสกฤต และประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดีใน 11 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์,โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ,จารึกภาษาไทย,จารึกภาษาตะวันออก,เขมรศึกษา,ภาษาสันสกฤต,การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร,ประวัติศาสตร์ศิลปะ, มานุษยวิทยา,ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ ใน สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,การออกแบบภายใน,ประยุกตศิลปศึกษา และเครื่องเคลือบดินเผา
หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ใน สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ใน 5 สาขาวิชาคือ ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ,ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,ประวัติศาสตร์ศึกษา,ภาษาไทย และฝรั่งเศสศึกษา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์,หลักสูตร และการสอนและพัฒนศึกษา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ใน 10 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์,หลักสูตรและการนิเทศ,การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ,การสอนภาษาไทย,การสอนสังคมศึกษา,จิตวิทยาชุมชน,จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ,เทคโนโลยีการศึกษา และพัฒนศึกษา
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ ใน 6 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์,ฟิสิกส์,คณิตศาสตร์(นานาชาติ,ชีววิทยา,จุลชีววิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ใน 12 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเคมีศึกษา,เคมีอินทรีย์,เคมีวิเคราะห์,ฟิสิกส์,ชีววิทยา,จุลชีววิทยา,สถิติประยุกต์,คณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,วิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ,วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และนิติวิทยาศาสตร์
หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ,เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ,เทคโนโลยีเภสัชกรรม และเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 9 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก,การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข,เภสัชเคมี ,เภสัชเวท,เภสัชศาสตร์ชีวภาพ,เทคโนโลยีเภสัชกรรม,วิทยาการทางเภสัชศาสตร์,การจัดการทางเภสัชกรรม และสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ นิติวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)และวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใน 3 สาขาวิชา วิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์,วิศวกรรมเคมี และการจัดการงานวิศวกรรม
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอาหาร
หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต คณะดุริยางคศาสตร์ ในสาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชาการประกอบการ
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชารัฐประศานศาสตร์
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนานาชาติ ใน 2 สาขาคือ สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว และธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะจิตกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต (ศป.บ) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 5 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตรกรรม,สาขาวิชาประติมากรรม,สาขาวิชาภาพพิมพ์,สาขาวิชาศิลปไทย และสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เว็บเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
คณะโบราณคดี เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปีใน 7 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดี,สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,สาขาวิชามานุษยวิทยา,สาขาวิชาภาษาไทย,สาขาวิชาภาษาตะวันออก (ภาษาบาลี-สันสกฤต-เขมร),สาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
คณะมัณฑนศิลป์
เปิดสอนในหลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน,สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์,สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ,สาขาวิชาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา,สาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษาและสาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะอักษรศาสตร์ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) หลักสูตรการศึกษา ๔ ปี ใน 15 สาขาวิชาเอกคือ สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส, สาขาวิชาภาษาเยอรมัน, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น, สาขาวิชาภาษาจีน, สาขาวิชาภาษาเกาหลี, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, สาขาวิชาภูมิศาสตร์, สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา, สาขาวิชานาฏศาสตร์(การละคร), สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย, สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาเอเชียศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ เว็บ เปิดสอนใน 3 หลักสูตรคือ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต,สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาจิตวิทยา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาสังคมศึกษา, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, สาขาวิชาการประถมศึกษาและสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ (โครงการพิเศษ)
คณะวิทยาศาสตร์
เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 10 สาขาวิชาเอก คือ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาสถิติ สาขาจุลชีววิทยา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม(เปิดเป็นที่แรกในประเทศไทย)สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์
คณะเภสัชศาสตร์เปิดสอนในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 5 ปี และ 6 ปี
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาเอกคือ สาชาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร,สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ โดยแบ่งเป็น 3 สายวิชาคือ เอกเว็บ เอกแอนิเมชั่น และ เอกเกมส์ โดยจะแยกเอกในชั้นปีที่ 3
หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต (นศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี สาขานิเทศศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 5 สายวิชาคือ สายวิชาการโฆษณา,สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์,สายวิชาวิทยุและโทรทัศน์,สายวิชาภาพยนตร์และสายวิชาวารสารและสิ่งพิมพ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เว็บ เปิดสอนใน 3 หลักสูตรคือ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชา สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์, สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี, สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ และสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์
คณะดุริยางคศาสตร์ [1] เปิดสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ การแสดงดนตรี,ดนตรีแจ๊ส และดนตรีเชิงพาณิชย์
คณะวิทยาการจัดการ [2] เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตใน 7 สาขาวิชาคือ
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการตลาด,สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและที่พัก
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)หลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University International College or SUIC) [3] เปิดสอน ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร และ ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร
Bachelor of Business Administration in Hotel Management (BBA) หลักสูตร 4 ปี (การจัดการโรงแรม) ร่วมกับ Institut Vatel (France) , (Double Degree)
Bachelor of Fine Arts in Multimedia Design (BFA) หลักสูตร 4 ปี (ออกแบบสื่อผสม) ร่วมกับ Birmingham Institute of Art and Design (BIAD) , England , (Double Degree)
Master of Business Administration in Hotel and Tourism Management (MBA) หลักสูตร 2 ปี (การจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว) ร่วมกับ University de Perpignan (France) , (Double Degree)
Master of Business Administration in International Business (MBA) หลักสูตร 2 ปี (ธุรกิจระหว่างประเทศ) ร่วมกับ University of Technology Sydney (UTS) สำหรับ Study Tour
บัณฑิตวิทยาลัย เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกดังนี้
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ใน 5 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตรกรรม,ประติมากรรม,ภาพพิมพ์,ศิลปไทย และทฤษฎีศิลป์
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง,สถาปัตยกรรม ,สถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง และคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
หลักสูตรปริญญาการวางผังเมืองชุมชนและสิ่งแวดล้อมมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใน สาขาการวางผังเมืองชุมชนและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในสาขาวิชาภูมิสถาปัตย์
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะโบราณคดีใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์,ภาษาเขมร,ภาษาสันสกฤต และประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดีใน 11 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์,โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ,จารึกภาษาไทย,จารึกภาษาตะวันออก,เขมรศึกษา,ภาษาสันสกฤต,การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร,ประวัติศาสตร์ศิลปะ, มานุษยวิทยา,ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ ใน สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์,การออกแบบภายใน,ประยุกตศิลปศึกษา และเครื่องเคลือบดินเผา
หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ใน สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ใน 5 สาขาวิชาคือ ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ,ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,ประวัติศาสตร์ศึกษา,ภาษาไทย และฝรั่งเศสศึกษา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์,หลักสูตร และการสอนและพัฒนศึกษา
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ใน 10 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์,หลักสูตรและการนิเทศ,การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ,การสอนภาษาไทย,การสอนสังคมศึกษา,จิตวิทยาชุมชน,จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ,เทคโนโลยีการศึกษา และพัฒนศึกษา
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ ใน 6 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์,ฟิสิกส์,คณิตศาสตร์(นานาชาติ,ชีววิทยา,จุลชีววิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ใน 12 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเคมีศึกษา,เคมีอินทรีย์,เคมีวิเคราะห์,ฟิสิกส์,ชีววิทยา,จุลชีววิทยา,สถิติประยุกต์,คณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,วิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ,วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และนิติวิทยาศาสตร์
หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ,เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ,เทคโนโลยีเภสัชกรรม และเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 9 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก,การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข,เภสัชเคมี ,เภสัชเวท,เภสัชศาสตร์ชีวภาพ,เทคโนโลยีเภสัชกรรม,วิทยาการทางเภสัชศาสตร์,การจัดการทางเภสัชกรรม และสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ ใน 2 สาขาวิชาคือ นิติวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)และวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใน 3 สาขาวิชา วิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์,วิศวกรรมเคมี และการจัดการงานวิศวกรรม
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอาหาร
หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต คณะดุริยางคศาสตร์ ในสาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชาการประกอบการ
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ ในสาขาวิชารัฐประศานศาสตร์
หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนานาชาติ ใน 2 สาขาคือ สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว และธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต คณะจิตกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น